Alpha Hydroxy Acids (AHA) : อัลฟา ไฮดรอกซี่ แอซิด (เอเอชเอ) (ชนิดน้ำ)
Alpha Hydroxy Acids (AHA) : อัลฟา ไฮดรอกซี่ แอซิด (เอเอชเอ) (ชนิดน้ำ)
฿70.00บาท
ราคารวมภาษี ฿70.00บาท
- Model : C107AHA
ตัวเลือก
หากต้องการซื้อสินค้าขนาด 100 กิโลกรัมขึ้นไป
สามารถส่งคำขอใบเสนอราคาได้ที่ ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤLine add : @BKKCHEMI ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤFacebook : กรุงเทพเคมี จำหน่ายเคมีภัณฑ์ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤ ㅤㅤㅤ
E-mail : [email protected]
C107AHA Alpha Hydroxy Acids (AHA) : อัลฟา ไฮดรอกซี่ แอซิด (เอเอชเอ) (ชนิดน้ำ)
CAS Number : | 7732-18-5 |
Appearance : | Liquid , yellow to pale yellow |
pH : | 1.5-3.0 |
รายละเอียดทั่วไป
AHA เป็นตัวย่อของ Alpha Hydroxy Acids อัลฟา ไฮดรอกซี่ เอซิด ซึ่งเป็นกลุ่มของสารประกอบ ประเภทกรดอินทรีย์ ที่สกัดได้จากธรรมชาติ คือ กรดผลไม้ (Fruit acid) ที่ทำให้มีรสเปรี้ยวจากผลไม้นั่นเอง ในสมัยก่อนหรือแม้แต่ปัจจุบัน ได้มีการนำเอาผลไม้บางชนิดมาพอกหน้า เช่น แตงกวา, มะขาม, แครอท, แอปเปิ้ล ฯลฯ แล้วจะทำให้ผิวเนียนขึ้น ดูสดใสขึ้น ซึ่งผลที่ได้มาจาก AHA ที่อยู่ในผลไม้นั่นเอง ในปัจจุบันเราสามารถสังเคราะห์ AHA โดยไม่ต้องไปสกัดจากธรรมชาติ เนื่องจาก AHA ที่ได้จากธรรมชาติ อาจจะมีสารที่ไม่ต้องการปะปนมา เช่น ยางไม้, สารรสเปรี้ยวอย่างอื่น ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อผิว อาจจะทำให้แพ้ หรือทำให้ผิวคล้ำขึ้น AHA ถูกนำมาใช้คืนความอ่อนเยาว์และบำรุงผิวมายาวนานตั้งแต่อดีต และยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการดูแลผิวขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของ AHA ในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดด้วย ซึ่งกรดไกลโคลิคและกรดแลคติกเป็นชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางมากที่สุด
AHA ย่อมาจาก Alpha Hydroxyl Acids มีสรรพคุณว่าเป็นสารช่วยลดริ้วรอยจุดด่างดำบนผิวหนังได้ จึงใช้ผสมกับครีมและโลชั่น เครื่องสำอางที่มี AHA เป็นส่วนประกอบถูกจัดในกลุ่มเดียวกับสารเคมีสำหรับลอกผิว ซึ่งใช้งานกันในหมู่แพทย์ผิวหนังและศัลยกรรมพลาสติก AHA ที่ใช้กันมากคือ กรดไกลโคลิก และกรดแลกติก แต่ยังมีหลายชนิดที่ใช้เป็นส่วนประกอบ โดยข้อกำหนดของ อย. ใช้ได้ไม่เกิน 10% แต่ในกรณีของผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังสามารถใช้ได้ถึงระดับความเข้มข้นร้อยละ 20 - 30 หรือสูงกว่านั้น แต่ต้องได้รับอนุญาตจาก อย. เสียก่อน AHA จัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องสำอางทั่วไป แต่อยู่ในหมวดของเวชสำอาง (Cosmeceutical) ตามองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ซึ่งให้ความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจาก AHA ไม่เหมือนเครื่องสำอางทั่วไป แต่มันซึมผ่านเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ และหากเข้มข้นพอก็จะลอกผิว ซึ่งเกิดผลในทางลบคือทำให้เซลผิวเสื่อมเร็วขึ้น และยังทำให้ผิวหนังชั้นนอกบางลงด้วย ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี AHA จำนวนหนึ่ง ใช้แล้วพบว่าผิวของตนไวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้น องค์การที่ดูแลความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้สรุปผลในการใช้ AHA อย่างปลอดภัย ให้มีความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 10 และเมื่อผสมพร้อมใช้จะต้องมีค่าความเป็นกรด-ด่างไม่ต่ำกว่า 3.5 นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์นั้นยังต้องมีส่วนผสมที่ช่วยลดระดับความไวต่อแสงแดด หรือมีสารกันแดด หรือมีข้อความแนะนำให้ใช้ควบคู่กับผลิตภัณฑ์สำรับกันแดด ถ้าอยากทราบว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่มี AHA หรือไม่ลองอ่านฉลากดู และมองหาชื่อสารเคมีต่อไปนี้
ผลของ AHA ต่อผิวหนัง
1. AHA จะทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าชั้นบน ที่เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งก็คือ ขี้ไคล นั่นเอง มีการหลุดลอกออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยปกติการหลุดลอกของผิวนี้ จะมีการพอกพูนหนาขึ้น และลอกออกยากขึ้นตามอายุ และทำให้ผิวดูหยาบกร้าน ดังนั้นผลของ AHA ต่อผิวหนังชั้นบนนี้ จะทำให้ผิวหนังส่วนนี้หลุดลอกง่ายขึ้น ทำให้ดูมีผิวเปล่งปลั่งสดใสมากขึ้น
2. AHA จะช่วยกระตุ้นการสร้างผิวหนังจาก Basal cells ซึ่งเป็นเซลล์ใต้ผิวหนัง ให้มีการเร่งการสร้างผิวใหม่ทดแทนผิวเก่า ที่หลุดลอกออก ทำให้มีการสร้างผิวใหม่ขึ้นมา และผิวมีสุขภาพดีขึ้น
3. AHA จะกระตุ้นเซลล์หนังแท้ ให้มีการสร้าง คอลลาเจนไฟเบอร์ (Collagen fibers), อีลาสติดไฟเบอร์ (Elastic fibers), Mucopolysaccharide ซึ่งเป็นองค์ประกอบของหนังแท้ โดยปกติเมื่ออายุมากขึ้น ชั้นผิวหนังจะบางลง และทำให้ผิวมีการยุบตัว หย่อนยาน มีริ้วรอยย่น ดังนั้นเมื่อใช้ AHA ก็จะช่วยให้มีการสร้างผิวให้หนาขึ้น ลดรอยย่นและริ้วรอยต่างๆ ได้
4. AHA ที่ใช้ในความเข้มข้นสูง จะทำให้ชั้นหนังกำพร้าแยกตัวออกจากหนังแท้ ซึ่งนำไปใช้รักษาโรคผิวหนังบางชนิด เช่น กระเนื้อ, หูด เป็นต้น
5. AHA เชื่อว่าสามารถทำให้ยาอื่น ออกฤทธิ์ต่อผิวหนังได้ดีขึ้น โดยทำให้ยาสามารถดูดซึมเข้าผิวหนังได้ดีขึ้น เราจึงพบ AHA ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์รักษา สิว, กระ, ฝ้า, รอยด่างดำ, แผลเป็น ฯลฯ
อาการข้างเคียงของ AHA ที่ความเข้มข้นสูง
1. AHA อาจจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ จะรู้สึกคันยิบๆ ซึ่งใช้ต่อไปเรื่อยๆ อาการนี้อาจหายได้ แต่ถ้าใช้ AHA ในความเข้มข้นสูง อาจทำให้เกิดอาการแสบผิวได้ โดยขึ้นกับความเข้มข้นที่ใช้ ระยะเวลา และสภาพผิวของแต่ละบุคคลด้วย
2. อาการผิวลอก เกิดจากผิวหนังกำพร้าแยกตัวออกจากหนังแท้ ดังที่กล่าวไว้ว่า AHA ในความเข้มข้นสูง จะทำให้มีการแยกตัวของหนังกำพร้า กับหนังแท้ ซึ่งทำให้มีอาการแดงและแสบผิว ขึ้นกับระยะเวลาที่สัมผัสกับผิว และสภาพความไวของผิวด้วย
3. AHA ในความเข้มข้นสูงอาจทำให้เกิดรอยด่างดำได้
ข้อมูลสินค้า
ชื่อทั่วไป : Alpha Hydroxy Acids (AHA)
แหล่งผลิตสินค้า :
ข้อมูลทั่วไป
ใช้ AHA อย่างไรให้ปลอดภัย : โดยทั่วไป การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ AHA ในรูปแบบครีมทาผิวที่ระดับความเข้มข้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ค่อนข้างปลอดภัย แต่หากต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ AHA ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรได้รับการดูแลภายใต้การควบคุมดูแลจากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ส่วนผู้ที่ตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังให้นมบุตรก็สามารถใช้ครีมทาผิว AHA ได้ที่ความเข้มข้นไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ควรบริโภค AHA ในรูปแบบอื่น เช่น ไม่ควรรับประทานกรดมาลิก เพราะยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยในแม่และเด็กทารกจากการใช้กรดชนิดนี้ AHA นิยมใช้ในวงการแพทย์ผิวหนัง การทำทรีทเม้นท์ในคลินิกเสริมความงาม มีบทบาทในการผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ จะช่วยทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเซลล์ชั้นบนสุดลดน้อยลง ทำให้เซลล์ผิวหลุดลอกได้ง่ายขึ้น เมื่อใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานทำให้ผิวหน้าดูเรียบเนียน และกระจ่างใสกว่าเดิม ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ขึ้นมา พร้อมทั้งเสริมการสร้างคอลลาเจนในชั้นหนังแท้ คืนความชุ่มชื่นให้สู่ผิว และยังโดดเด่นในเรื่องการรักษาฝ้า จุดด่างดำ รอยสิว ริ้วรอยบางๆ มักจะเห็นผลชัดเจนในระยะเวลา 1 – 2 เดือนแต่ในกรณีริ้วรอยลึกคงไม่ช่วยให้ดีขึ้น
สั่งซื้อสินค้า Alpha Hydroxy Acids (AHA) : อัลฟา ไฮดรอกซี่ แอซิด (เอเอชเอ) (ชนิดน้ำ)
ได้ที่ Line@BKKCHEMI หรือ หน้าร้านกรุงเทพเคมี โทร.02-034-1515,02-015-6262