Menu
Your Cart

Sulfuric acid 98% : กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)

Sulfuric acid 98% : กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)
Sulfuric acid 98% : กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)
฿750.00บาท
ราคารวมภาษี ฿750.00บาท
  • Model : G027SA

ตัวเลือก

หากต้องการซื้อสินค้าขนาด 100 กิโลกรัมขึ้นไป
สามารถส่งคำขอใบเสนอราคาได้ที่ ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤLine add : @BKKCHEMI ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤFacebook : กรุงเทพเคมี จำหน่ายเคมีภัณฑ์ㅤㅤㅤㅤㅤㅤㅤ ㅤㅤㅤ E-mail : [email protected]

G027SA Sulfuric acid 98% : กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)

CAS Number : 7664-93-9
Formula : H2SO4
Appearance : Clear oily liquid.
Molecular Weight : 98.08g/mol
pH. : 1.2
Assay : 98% Min

รายละเอียดทั่วไป
        กรดซัลฟิวริก (Sulfuric acid) หรือกรดกำามะถัน เป็นชื่อทางเคมีที่รู้จักกันดี นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น hydrogen sulfate, oil of virtriol, virtriol brown oil, dipping acid สูตรโมเลกุล คือ H2SO4น้ำหนัก โมเลกุล 98.08 ลักษณะทั่วไปจะเป็นของเหลวใสคล้ายน้ำมัน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืด จัดเป็นกรดแก่อย่างแรง ละลายในน้ำได้ดี
        กรดซัลฟิวริกเป็นเคมีภัณฑ์พื้นฐานสำคัญที่มีการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ เช่น ใช้ในการผลิตปุ๋ย เคมีภัณฑ์ปิโตรเลียม การผลิตแร่ การสังเคราะห์สารเคมี และใช้ในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น แม้ว่าในกระบวนการผลิตจะสามารถผลิตกรดซัลฟิวริกให้มีความเข้มข้นได้ใกล้เคียงร้อยละ 100 แต่จะมีการสูญเสียซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ที่จุดเดือดทำให้กรดซัลฟิวริกที่ได้เหลือความเข้มข้นประมาณร้อยละ 98.3 ซึ่งจะมีเสถียรภาพในการเก็บรักษา กรดซัลฟิวริกที่ความเข้มข้นนี้จะเรียกว่า กรดซัลฟิวริกเข้มข้น
ประโยชน์ของกรดซัลฟิวริก
1. ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารเคมี 
2. ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
3. ใช้เป็นตัวปรับสภาพค่าพีเอช ในกระบวนการผลิต 
4. ใช้เป็นตัวสกัดแร่
5. ใช้เป็นตัวทำความสะอาดชิ้นงาน 
6. ใช้เป็นสารอิเล็กโตรไลต์
ตัวอย่าง อุตสาหกรรมเคมีที่มีการนำกรดซัลฟิวริกไปใช้
1. อุตสาหกรรมการผลิตคาโปแลคตัม 
      คาโปแลคตัม มีสูตรทางเคมี C6H10NO เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต Nylon-6 ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ในอุสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ อุปกรณ์การประมง และพลาสติกในชิ้นส่วนยานยนต์ กระบวนการผลิตคาโปแลคตัมเป็นกระบวนการโพลีเมอไรเซชันเชิงซ้อน โดยมีวัตถุดิบหลัก คือ แอมโมเนีย กรดซัลฟิวริกหรือโอเลียม ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไซโคลเฮกเซน โดยกรดซัลฟิวริกหรือโอเลียม ไฮดรอกซิลเอมีน และไซโคลเฮกซาโนน ทำปฏิกิริยากันได้คาโปแลคตัมและแอมโมเนียมซัลเฟต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมที่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ย 
2. อุตสาหกรรมการผลิตเส้นใยวิสโคเรยอน
      การผลิตเส้นใยวิสโคเรยอนประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการเตรียมวิสโคส โดยนำเยื่อเซลลูโลสซึ่งอยู่ในรูปเยื่อกระดาษ มาเติมโซดาไฟเพื่อทำให้เป็นเยื่อด่าง นำเยื่อด่างมาปรับสภาพให้เหมาะสมแล้ว จึงนำมาทำปฏิกิริยากับสารคาร์บอนไดซัลไฟด์ เพื่อเปลี่ยนเยื่อด่างให้เป็นเซลลูโลสแซนเทต ละลายด้วยด้วยโซดาไฟจะได้สารละลายที่เรียกว่า วิสโคส ซึ่งจะนำไปใช้ในขั้นตอนการฉีดเส้นใย โดยจะทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกได้เป็นเส้นใยเซลลูโลส โซเดียมซัลเฟตและคาร์บอนไดซัลไฟด์
3. อุตสาหกรรมการผลิตสารส้มชนิดอะลูมิเนียมซัลเฟต
      การผลิตอะลูมิเนียมซัลเฟตซึ่งเป็นสารส้มชนิดหนึ่งที่นิยมใช้เป็นสารตกตะกอนในการผลิตน้ำประปาและในระบบบัดน้ำเสีย โดยผลิตจากปฏิกิริยาระหว่างอะลูมินา (Al2O3) และกรดซัลฟิวริก ได้เป็นอะลูมิเนียมซัลเฟต ดังสมการ
Al2O3 + 3H2SO4+ xH2O Al2(SO4)3+ (x+3)H2O
ความเป็นอันตราย
1. หากสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างแรง ผิวหนังแดง เป็นแผลไหม้ แสบร้อน และเกิดการผุผองตามมา
2. การสัมผัสกับตาจากไอหรือสารละลายจะทำให้ระคายเคืองตาอย่างรุนแรง เยื่อตา กระจกตาอักเสบ และอาจทำให้ตาปอดได้
3. การสูดดมไอระเหยจะทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อบุผิวในระบบทางเดินหายใจ รู้สึกแสบร้อนตามจมูก ลำคอ หายใจถี่ และอาจเกิดภาวะขาดออกซิเจนทำให้เสียชีวิตได้
4. การกินจะทำให้ระบบทางเดินอาหารระคายเคือง เยื่อบุของอวัยวะอักเสบ ปัสสาวะน้อย และอาจช็อคเสียชีวิตได้
กรดซัลฟูริกที่มีความเข้มข้นมากกว่า 50% โดยน้ำหนัก จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตาม พ.ร.บ. ที่ต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมสำหรับการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการครอบครอง

ข้อแนะนำ
1. ขณะใช้งานควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากสารเคมี เช่น ผ้าปิดจมูก ถุงยางมือ รองเท้าบูท แว่นตาป้องกันสารเคมี และสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด
2. ห้ามเทน้ำลงกรดที่มีความเข้มข้นสูง เพราะจะเกิดปฏิกิริยาออกซิไดซ์อย่างรุนแรงซึ่งจะทำให้กรดฟุ้งกระเด็น และเกิดความร้อนอย่างรวดเร็ว
3. สถานที่ปฏิบัติควรมีพัดลมดูดหรือระบายอากาศ เช่น ฮูทดูดอากาศ
4. ห้ามเก็บกรดในภาชนะโลหะ และควรเก็บให้ห่างจากโลหะต่างๆ
5. ห้ามเก็บกรดใกล้แสงแดดหรือแหล่งความร้อน
6. กรุณาศึกษาข้อมูลสารเคมีจากเอกสาร MSDS (Material Safety Data Sheet) เอกสารความปลอดภัยให้เข้าใจก่อนการนำไปใช้

การจัดเก็บ
  • เก็บในภาชนะบรรจุที่ปิดมิดชิด
  • เก็บในบริเวณที่เย็นและแห้ง
  • เก็บในบริเวณที่มีการระบายอากาศเพียงพอ
  • เก็บห่างจากแสง ไอน้ำ เบสแก่ สารประกอบอินทรีย์
  • เก็บภาชนะบรรจุสารไว้ในบริเวณเก็บสารเคมีที่เหมาะสม
  • หลีกเลี่ยงการหายใจและการสัมผัสถูกผิวหนังและตา
ข้อมูลสินค้า
ประเทศผู้ผลิต : ประเทศไทย
ชื่อทั่วไป : กรดซัลฟิวริก / ซัลฟูริก (Sulfuric), เอสิด มิสต์ (Sulfuric Mist), ไฮโดรเจนซัลเฟต (Hydrogen Sulfate), ซัลเฟอร์ เอสิด (Sulfur acid), ซัลฟูริก เอสิด (Sulfuric acid) และ สเปนต์ (Spent)


สั่งซื้อสินค้า Sulfuric acid 98% : กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน)
ได้ที่ Line@BKKCHEMI หรือ หน้าร้านกรุงเทพเคมี โทร.02-034-1515,02-015-6262

คลิปวิดีโอ

No product youtube